ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เป็น บริษัท ที่ให้การเข้าถึง อินเทอร์เน็ต . ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเข้าถึงได้โดยตรงเชื่อมต่อลูกค้าเข้ากับอินเทอร์เน็ตโดยใช้สายทองแดงที่ ไร้สาย หรือ ใยแก้วนำแสง เชื่อมต่อ [1] พื้นที่โฮสติ้งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ให้เช่าสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและเซิร์ฟเวอร์โฮสต์คนอื่น ๆ ( colocation ) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตให้การรถไฟฟ้าขนส่งขนาดใหญ่ หลอด สำหรับการเชื่อมต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในการเข้าถึงโฮสติ้งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต [2]
โมเด็ม (Modems)
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
โมเด็มแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้
1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆมีหน่วยเป็น บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps) ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการพูดและจดจำ มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า โมเด็มขนาด 56 K
2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล
ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบอัดข้อมูล (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ เป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการรับ - ส่งสัญญาณ
3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร
โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ดีเช่นเดียวกับการรับ - ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์(printer)ได้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้
4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่างๆ มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไประหว่างการส่งถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก
โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (external modems) และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems)
6. ใช้เป็นโทรศัพท์ได้
โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการรับ - ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย
ใช้โมเด็มทำอะไรได้บ้าง
เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่
1. พบปะพูดคุย
2. ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน
3. ท่องไปบนอินเทอร์เน็ต
4. เข้าถึงบริการออนไลน์ได้
5. ดาวน์โหลดข้อมูล,รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้
6. ส่ง - รับโทรสาร
7. ตอบรับโทรศัพท์
การเลือกซื้อโมเด็ม
สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งาน เช่น
1. เข้ากันได้กับระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ
2. เข้ากันได้กับระบบทำงาน OS ของคอมพิวเตอร์ของคุณ
3. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
4. เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน
5. การบีบอัดข้อมูล
6. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
7. รับ - ส่งโทรสารได้
8. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกับโมเด็ม
การที่สามารถใช้โมเด็มให้เกิดประโยชน์จากแหล่งข้อมูลนั้นจะต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งเหล่านี้พร้อมหรือไม่
1. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
2. พอร์ทอนุกรม (serial port)
3. fast UART เป็นซิฟตัวหนึ่งที่ติดตั้งบนพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์
เพื่อควบคุมการไหลของข้อมูลเข้าและออกจากพอร์ทอนุกรม
4. serial cable เป็นสาย cable ที่นำมาต่อโมเด็มกับพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์
(ต้องตรวจสอบดูว่าเป็น connector แบบ 9 ขา หรือ 25 ขา)
5. expansion slot ถ้าโมเด็มเป็นแบบติดตั้งภายในจะต้องมี expansion slot ใช้งาน
โดยจะต้องถอดฝาครอบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ออกและติดตั้งโมเด็มลงไปบน expansion slot
อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Wireless LAN
1. แลนการ์ดไร้สาย (Wireless LAN Card)
ทำหน้าที่ในการ แปลงข้อมูล ดิจิตอล ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นคลื่นวิทยุแล้วส่งผ่านสายอากาศให้กระจายออกไป และทำหน้าที่ในการรับเอาคลื่นวิทยุที่แพร่กระจายแปลงเป็น ข้อมูลดิจิตอล ส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผล Wireless LAN ที่ผลิตออกมาจำหน่าย มีหลายรูปแบบแบ่งตามลักษณะช่องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้
- แลนการ์ดแบบ PCI
- แลนการ์ดแบบ PCMCIA
- แลนการ์ดแบบ USB
- แลนการ์ดแบบ Compact Flash (CF)
2. อุปกรณ์เข้าใช้งานเครือข่าย (Wireless Access Point)
ทำหน้าที่เสมือน ฮับ เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายและอุปกรณ์ไวร์เลสแลนแบบต่าง ๆเข้าด้วยกัน อีกทั้งเป็นสะพานเชื่อมต่อ เครื่องไวร์เลสแลนเข้ากับเครื่องอีเธอร์เนตทำให้ระบบทั้งสองสามารถสื่อสารกันได้
3. สะพานเชื่อมโยงไร้สาย (Wireless Bridge)
ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระบบ เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแลนตั้งแต่สองระบบขึ้นไปเข้าด้วยกันแทนการใช้สายสัญญาณ ข้อมูลที่สื่อสารระหว่างเครือข่ายอีเธอร์เน็ตจะถูกแปลงเป็นคลื่นวิทยุแล้วถูกแปลงไปยังปลายทาง
4. Wireless Broadband Router
ทำหน้าที่ในการต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านคู่สายโทรศัพท์ (ADSL) หรือ เคเบิลทีวี (UBC) ด้วยเทคโนโลยี Broadband Router ซึ่งมีฟังชันการทำงานเป็นตัวค้นหาเส้นทาง, NAT (Network Address Translation) , Firewall , VPN ๆลๆ มาผสมผสานเข้ากับ Access Point ทำให้ผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายสามารถสื่อสารข้อมูลไปยังระบบอินเทอร์เน็ต
5. Wireless Print Server
อุปกรณ์การแชร์เครื่องพิมพ์บนระบบเครือข่าย Wireless LAN
6. Power Over Ethernet Adapter
ทำหน้าที่แยกสาย UTP ที่มีสายทองแดงตีเกลียวอยู่ข้างใน 4 คู่โดยสายทองแดงสำหรับใช้สื่อสารข้อมูลใช้เพียง 2 คู่เท่านั้น ส่วนสายทองแดงอีก 2 คู่สามารถใช้อุปกรณ์ตัวนี้นำมาใช้เป็นเส้นทางสำหรับส่งแรงดันไฟฟ้าไปให้กับตัว Access Point ได้
7. สายอากาศ (Antenna)
ทำหน้าที่เปลี่ยนข้อมูลในรูปของกระแสไฟฟ้าที่ส่งออกมาจากภาคส่งของอุปกรณ์ไวร์เลสแลนให้กลายเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายออกไปในอากาศและสายอากาศยังทำหน้าที่รับเอาคลื่นที่อุปกรณ์ไวร์เลสแลนเครื่องอื่น ๆ ส่งออกมาแปลงกลับให้อยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้าส่งให้ภาครับต่อไป
Transmission line หรือสายส่งหรือสายนำสัญญาณ เป็นอุปกรณ์ประเภทที่เป็นตัวนำและถ่ายทอดสัญญาณไปสู่อุปกรณ์ปลายทาง แต่ในทางด้านวิทยุสมัครเล่นของเรา จะใช้สายนำสัญญาณ เป็นตัวกลางนำสัญญาณความถี่วิทยุจากตัวเครื่องรับส่ง ไปสู่สายอากาศ และนำสัญญาณจากสายอากาศมาสู่เครื่องรับส่ง และจะต้องมีการสูญเสียกำลังงานในตัวสายให้น้อยที่สุดด้วยจึงจะเรียกได้ว่าสายส่งมีประสิทธิภาพ เห็นอย่างงี้แล้วแสดงว่าสายนำสัญญาณต้องมีความสำคัญในส่วนของกำลังงานและประสิทธิภาพการรับส่งด้วยอย่างแน่นอน
สายนำสัญญาณสามารถแบ่งได้หลายขนิดตามคุณสมบัติ หรือ วัสดุ ซึ่งบอแบ่งออกได้ใหญ่ๆ 2ชนิดคือ
1.สายนำสัญญาณแบบบาลานซ์ balanc เป็นสายนำสัญญาณประเภทที่มีตัวนำสองเส้นวางคู่ขนานกันไป โดยที่มีฉนวน หรือ ไดอิเล็กทริกเป็นตัวขั้นกลาง สัญญาณในตัวนำทั้งสองจะมีค่ากระแสเท่ากันทั้ง 2 เส้น แต่มีเฟสต่างกัน 180 องศาและไม่มีส่วนใดต่อลงกราวน์ของระบบ ส่วนใหญ่ที่เราเห็นและมักคุ้นเคยกัน ก็คือสายนำสัญญาณชนิดแบน 300 โอมห์ ที่นิยมใช้ติดตั้งกับระบบโทรทัศน์ สายนำสัญญาณประเภทนี้มีการรบกวนจากสัญญาณอื่นได้ง่าย เพราะไม่มีส่วนในการห่อหุ้มที่เป็นส่วนป้องการการรบกวน หรือการแพร่กระจายคลื่นออก
ค่าอิมพิแดนซ์ประจำสายหาได้จาก ZO = 276 log 2D/R
D = ระยะห่างระหว่างตัวนำทั้งสอง
R = รัศมีของเส้นลวดตัวนำ
2.สายนำสัญญาณแบบอันบาลานซ์ เป็นสายนำสัญญาณที่เป็นส่วนของ สัญญาณ และส่วนของกราวด์ ที่พบเห็นและเกี่ยวข้องกับวิทยุสมัครเล่นก็คือ สายโคแอคเชียล คือสายนำสัญญาณ ที่เป็นตัวนำอยู่ตรงกลาง และมีส่วนของชีลด์เป็นตัวนำห่อหุ้มอยู่ในลักษณะทรงกระบอก โดยมีฉนวนหรือไดอิเล็กทริก ระหว่างกลางตัวนำทั้งสอง คุณสมบัติของสายนำสัญญาณประเภทนี้ คือ ในส่วนของ ชีลด์สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนที่จะเข้ารบกวนในส่วนสัญญาณได้ และสามารถป้องกันการแพร่กระจายคลื่นที่เล็ดลอดออกมาจากสายนำสัญญาณได้
ค่าอิมพิแดนซ์ประจำสายหาได้จาก ZO = 138 log D/d
D = เส้นผ่านศูนย์กลางของชีลด์
d= เส้นผ่านศูนย์กลางของลวดตัวนำใน
ข้อพิจราณาการเลือกใช้สาย
1. การสูญเสีบในสายภายในสายต่ำถือว่ามีคุณภาพดี มีข้อสังเกตุว่าถาใช้โฟมเป็นไดอิเล็กทริกจะลดการสุญเสียได้มาก
2. การโค้งงอในสาย ในงานที่ถูกโค้งงอบ่อยเราควรใช้สายที่มีลวดตัวนำตรงกลางจะนวนหลายเส้นจะได้ไม่ขาดเร็วเกินไป
3. สายชีลด์ ป้องกันไม่ให้เกิดสัญญาณรบกวน
เจาะลึกสายนำสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับนักวิทยุสมัครเล่น
สายนำสัญษณที่ใช้กับนักวิทยุสมัครเป็นสายนำสัญญาณชนิด โคแอ็กเชียล คือ สายนำสัญญาณ ที่เป็นตัวนำอยู่ตรงกลาง และมีส่วนของชีลด์เป็นตัวนำห่อหุ้มอยู่ในลักษณะทรงกระบอก โดยมีฉนวนหรือไดอิเล็กทริก ระหว่างกลางตัวนำทั้งสอง คุณสมบัติของสายนำสัญญาณประเภทนี้ คือ ในส่วนของ ชีลด์สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนที่จะเข้ารบกวนในส่วนสัญญาณได้ และสามารถป้องกันการแพร่กระจายคลื่นที่เล็ดลอดออกมาจากสายนำสัญญาณได้
ซึ่งคุณสมบัติต่างๆของสายนำสัญญาณประเภทนี้
มาตรฐานต่างๆของสายนำสัญญาณที่ใช้โดยทั่วไป แบ่งออกได้ 2 มาตรฐาน คือ
1. มาตรฐานอเมริกัน คือ รหัส RG - xxx A/U
RG ย่อมาจาก Radio Guide หมายถึงสายนำสัญญาณ
xxx คือ ตัวเลขแสดงเบอร์ของสายโคแอคเชียล เช่น 58 , 8 , 59 , 213 เป็นต้น
A หมายถึง ตัวอักษรแสดงคุณสมบัติที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น A , B , C
U หมายถึง Utulity หรือ Universal หมายถึงใช้งานทั่วไป
2. มาตรฐานประเทศญี่ปุ่น คือ รหัส xx - xx เช่น 3D - FB
3,5,10,12 หมายถึง ตัวเลขแสดงเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของสารไดอิเล็กทริก
D หรือ C โดย D หมายถึงอิมพิแดนซ์ 50 โอห์ม และ C หมายถึง 75 โอห์ม
F หรือ 2 โดย F หมายถึง สารไดอิเล็กทริกเป็น โฟม และ 2 สารไดอิเล็กทริกเป็น โพลิเอธิลีน
ตัวสุดท้าย B หมายถึง ชีลด์ทองแดง + ชีลด์อะลูมิเนียม + PVC
E หมายถึง ชีลด์ทองแดง + PE
L หมายถึง ชีลด์อะลูมิเนียม +PVC
N หมายถึง ชีลด์ทองแดง + ไนล่อนถัก
V หมายถึง ชีลด์ทองแดง + PVC
W หมายถึง ชีลด์ทองแดง 2 ชั้น + PVC
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น