วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

จริยธรรมและความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ

1. จงอธิบาย เปรียบเทียบ พร้อมยกตัวอย่างของไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน
           ตอบ  ไวรัส เวิร์ม คือ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ที่กระจายตัวเอง เช่นเดี่ยวกับไวรัส โดยการแพร่กระจาย จากคอมพิวเตอร์ สู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผ่านอีเมล์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้เปิดไฟล์อ่าน เวิร์มจะเริ่มทำงานโดยการคัดลอกตัวเองและส่งผลจากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องของคนอื่น ๆ ที่มีรายชื่ออยู่ใน E-mail เช่น “Nimda, “W32.Sobig”, W32.bugbeor” “W32.blaster” and “love bug” ซึ่งเป็นไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์ที่กำหนดหัวเรื่องว่า “Love You”ม้าโทรจัน (Trojan torse) เป็นโปรแกรมรวมแต่แตกต่าง จากไวรัสและเวิร์มที่ ม้าโทรจัน จะไม่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่น ๆ แต่ ม้าโทรจันจะแฝงอยู่กับโปรแกรมอื่น ๆ ที่อาจส่งผ่านมาทางอีเมล์ เช่น Ziped_filessexe. เมื่อมีการเรียกใช้ไฟล์ โปรแกรมก็จะลบไฟล์ที่อยู่ในฮาร์ดิสก์

2. สปายแวร์ (Spyware) คืออะไร และมวิธีการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
           ตอบ คือ ไวรัสที่เป็นไฟล์ภาพกราฟิก มีขนาดเล็กและซ่อนตัวอยู่ที่เว็บเพจ ที่รวบรวมข้อมูลและพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ แล้วส่งข้อมูลเหล่านั้นกลับไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และวิธีการติดตั้งของเครื่อง คอมพิวเตอร์ คือ การติดตั้งจากแผ่น Driver หรือ การดาว์นโหลดจากอินเทอร์เน็ตมา เช่น โปรแกรมAd-aware ,Spycop เป็นต้น

3. ท่านมีวิธีการหลีกเลี่ยงการเป็นเป้าหมายของสแปมเมล์อย่างไร
           ตอบ   3.1 เป็นการบล็อกสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องจดหมาย
                    3.2 การติดตั้งโปรแกรม แอนตี้สแปม (Aati-Spam Program) ที่ช่วยกรองและกำจัดสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องเมล์


4. ท่านคิดว่าการทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตก็เช่นเดียวกัน ท่านมีความเห็นอย่างไร          
          ตอบ คือ การทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เพราะซีดีเพลงที่ได้มานั้น ไม่ได้มาโดยง่ายเลย และยังเป็นลิขสิทธิ์ ของค่ายเพลงนั้นๆ ด้วย และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ต ถือว่าผิดจริยธรรมเหมือนกัน แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาสูง ดังนั้นการดาว์นโหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นเรื่องปกติ

คำศัพท์เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

คำศัพท์เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
 โปรโตคอล ( Protocol) หมายถึง ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ซึ่งมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดี ข้อเสีย และใช้ในโอกาสหรือสถานการณ์แตกต่างกันไป คล้ายๆ กับภาษามนุษย์ที่มีทั้งภาษาไทย จีน ฝรั่ง หรือภาษาใบ้ ภาษามือ หรือจะใช้วิธียักคิ้วหลิ่วตาเพื่อส่งสัญญาณก็จัดเป็นภาษาได้เหมือนกัน ซึ่งจะสื่อสารกันรู้เรื่องได้จะต้องใช้ภาษาเดียวกัน  
IP Address คือชุดตัวลขที่อ้างถึงโฮสต์ คอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ต ที่ประกอบด้วยชุดอักษร 4 ชุด ที่ขั้นด้วย จุด ดังนั้นบางเครื่องอาจเรียกเป็น dot addressing โดยจะมีไบนารี 32 บิต(4octet)เช่น   202.214.115.12 ถ้าคุณใช้อินเตอร์เน็ตแบบ PPP คุณจะพบว่าโฮสต์ ของคุณนั้นจะกำหนด ไอพีแอดเดรส ให้คุณอัตโนมัติ แต่ถ้าคุณใช้ระบบ แลน ไอพีแอดเดรสนั้นจะถูกกำหนดตายตัว
Domain Name โดเมนเนมแสดงถึงการเป็นเจ้าของหรือการจัดระบบเน็ตเวิร์คในอินเตอร์เน็ต มักจะมีรูปแบบเป็น ชื่อโดเมน.ชนิดของโดเมน เช่น microsoft.com (.com-องค์กรการค้า,.edu-องค์กรการศึกษาฯลฯ)ซึ่งลักษณะนี้เป็นการกำหนดโดเมนเนมในอเมริกา หากเป็นประเทศอื่นๆ จะมีตัวอักษรสองตัวแทนชื่อประเทศต่อท้ายเช่นksc.net.th(net-ผู้ให้บริการด้านเน็ตเวิร์ค,.th-รหัสประเทศไทย)
Wold Wide Web ( WWW ) หมายถึง  เน็ตเวิร์คที่มีการเชื่อมต่อกันไปทั่วโลก   เรียกย่อว่า   เว็บ “  (   Web )  ในเว็บมีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจเก็บรวบรวม  ทำให้สามารถดูเอกสารหรือค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ ซึ่งจะแสดงผลออกมาทีละหน้า  แต่ละหน้าเรียกว่า  เว็บเพจ”  ( Web Page ) แหล่งเก็บเว็บเพจ
เว็บเพจ (Web Page) คือ เอกสารที่ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลแบบสื่อประสม เช่น ข้อความ,ภาพ,ภาพเคลื่อนไหว,เสียง เป็นต้น โดยการนำเสนอผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การใช้งาน
Home Page โฮมเพจหมายถึง เอกสารในwwwหน้าแรกของไซด์ที่คุณเข้าไป ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์ที่มีชื่อว่า index.html หรือ default.asp
Bandwidth แบนด์วิธจะเป็นการแสดงว่าในช่วงเวลาหนึ่งมีการขนย้านข้อมูลได้มากน้อยเพียงใด มักจะมีหน่วยเป็น บิตต่อวินาทั(bps) หรือ กิโลบิตต่อวินาที(kbps)
HTML(Hypertext Markup Language) เป็นเครื่องมือในการสร้าไฟล์เท็ก(ข้อความ)ที่มีการเชื่อมต่อกันสำหรับใช้กับบราวเซอร์บนwww โดยมีลักษณะเป็นช้อความธรรมดาที่ล้อมค้วยวงเล็บ< >เช่น <b>tunjai</b> เป็นคำสั่งที่บอกให้บราวเซอร์แสดงผลตัว tunjai ตัวเข้มหรือตัวหนา
URL(The Uniform Resource Locators )เป็นเสมือนที่อยู่ของเอกสารบนเว็บ ทุกๆ เอกสารจะต้องมี URL เป็นของตัวเอง แต่ละส่วนของ URL เป็นสิ่งที่ใช้ระบบข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งของเอกสาร
ISP (Internet Service Provider) คือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่คุณอาจต้องเสียค่าบริการเป็นรายเดือน หรือเป็ช่วงเวลาในการใช้งาน หรือเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
Hypertext  แนวคิดในการเชื่อมโยงไฟล์เอกสาร (เช่น เว็บเพจ) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน โดยผู้อ่านสามารถเลือกจุดที่กำหนดไว้ (ซึ่งเรียกว่า hypertext link, hyperlink หรือ link) เพื่อเปิดไปยังเอกสารปลายทางที่กำหนดไว้ได้

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ

การประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา  
           เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น


การประยุกต์ใช้งานด้านความบันเทิง
            ด้านความบันเทิงได้นำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้   ก่อฬห้เกิดรูปแบบของ "อีซีนีมา(E-cinema)"   เป็นการบริการสมาชิกหรือลูกค้าแบบ
ออนไลน์ เช่น การจองตั๋วหนังออนไลน์ การเลือกที่นั่งผ่านทางเว็บไซต์ และชำระค่าบริการผ่านทางบัตรเครดิต นอกจากการจองในระบบออนไลน์แล้ว  ยังสามารถใช้บริการในระบบโทรศัพท์ได้อีกด้วย


การประยุกต์ใช้งานด้านธุรกิจ
            ปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่า มีการประกอบธุรกิจเกิดขึ้นมามากมายหลายประเภทในโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ และสิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติของการประกอบธุรกิจนั้นก็คือ “คู่แข่งทางธุรกิจ” โดยเฉพาะธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และให้ค่าตอบแทนสูงด้วยแล้วเรื่องของ คู่แข่งทางธุรกิจ ก็จะยิ่งมีมากขึ้นตามมาด้วย ซึ่งโลกของธุรกิจในปัจจุบันนี้ถือได้ว่าเป็นโลกของการแข่งขัน ดังนั้นเพื่อจะให้ธุรกิจของตนเองอยู่รอด ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายต่างก็พยายามคิดวางแผนและหากลยุทธ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาใช้ไม่ว่าจะเป็นทางด้านตัวผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการให้บริการ หรืออื่น ๆ เพื่อเอาชนะคู่แข่ง และแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ เป็นกลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจได้ก็คือ การนำเทคโนโลยีสมัยเข้ามาประยุกติ์ใช้ใน การประกอบธุรกิจ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว ทั้งในด้านของกระบวนการในการประกอบธุรกิจ การให้บริการ และอื่น ๆ
เทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) ซึ่งเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการจัดเก็บ และแสดงผลรายละเอียดของวัตถุ โดยใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อกลางในการส่งผ่านข้อมูล โดยเริ่มมีการใช้มาช้านานตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยใช้ในการแยกแยะเครื่องบิน ที่บินอยู่เหนือน่านฟ้าว่าเป็นเครื่องบินของฝ่ายใด เพื่อป้องกันปัญหาการโจมตีผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น จนกระทั่งปัจจุบันเทคโนโลยี RFID เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการจัดการของธุรกิจต่าง ๆ ทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม รวมถึงด้านโลจิสติกส์ สำหรับการประกอบธุรกิจของไทย ซึ่งปัจจุบันเผชิญกับการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรง การนำเทคโนโลยี RFID เข้ามาช่วยในการจัดการภายในกระบวนการต่าง ๆ ในการประกอบธุรกิจ นับเป็นกุญแจสำคัญ ที่จะช่วยให้การประกอบธุรกิจของเราสามารถแข่งขันกับ คู่แข่งทางธุรกิจได้ อย่างไรก็ตาม มิใช่ว่าทุกธุรกิจจะสามารถนำ RFID มาใช้ได้ เพราะขั้นตอนการดำเนินงานของบางธุรกิจอาจไม่เหมาะต่อการนำ RFID มาใช้ อาทิ การผลิตที่มีขั้นตอนที่ต้องใช้ความร้อนสูงกับตัวสินค้า ซึ่งจะทำให้ฉลาก RFID ที่ติดอยู่บนตัวสินค้าได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการพิจารณาแล้วว่าต้องการนำ RFID มาใช้ควรเลือกใชผู้ให้บริการ RFID ที่มีความเข้าใจในเทคโนโลยีอย่างแท้จริง เพื่อที่จะสามารถแนะนำเทคโนโลยีที่เหมาะสม และพัฒนาระบบที่สอดคล้องกับการดำเนินงานของธุรกิจ

การประยุกต์ใช้งานด้านความเป็นจริงเสมือน
       - ความจริงเสมือนเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของวงการเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สามารถเลียนแบบการเรียนรู้ และสัมผัสผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ในโลกแห่งความเป็นจริงเสมือน

การประยุกต์ใช้งานด้านโมบายเทคโนโลยี
       - เทคโนโลยีมัลติมีเดียในโทรศัพท์เคลื่อนที่ รูปแบบการใช้โมบายเทคโนโลยีM-Billing   M-Commerce  M-Banking  M-Entertainment  M-Messaging

การประยุกต์ใช้งานด้านฝึกอบรม
      - มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการช่วยสอน เรียกว่า e-Training  มีส่วนช่วยให้พัฒนาศักยภาพทางบุคลากรเป็นอย่างมาก
      - ปัจจุบัน  มีการพัฒนาเว็บสำหรับอบรมของสถาบันฝึกอบรมหลายแห่ง  เช่น สถาบันพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.guruonline.in.th

การประยุกต์ใช้งานด้านารประชาสัมพันธ์
    - นำเสนอ และเผยแพร่ข่าวสาร
          - การโฆษณาและการถ่ายทอด
          - ตู้ประชาสัมพันธ์


http://webcache.googleusercontent.com/

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร

                                                         การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
การสื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้

1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)
การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์แอดเดรส

2.โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)
เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา

3.วอยซ์เมล์ (Voice Mail)
เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่า วอยซ์เมล์บล็อก เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม

4.การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)
เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม

5.การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)
เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย
กรุ๊ปแวร์(groupware)
6.เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย

7.การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)
ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่

8.การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)
เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน

9.การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย

1. bluetooth  มาตรฐานเครือข่าย IEEE 802.11a
เป็นมาตรฐานที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยใช้เทคโนโลยี OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) เพื่อพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ไร้สายมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็วสูงสุด 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นวิทยุย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานโดยทั่วไปในประเทศไทย เนื่องจากสงวนไว้สำหรับกิจการทางด้านดาวเทียม ข้อเสียของผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11a ก็คือมีรัศมีการใช้งานในระยะสั้นและมีราคาแพง ดังนั้นผลิตภัณฑ์ไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11a จึงได้รับความนิยมน้อย

2.wi - fi  มาตรฐานเครือข่าย IEEE 802.11b
เป็นมาตรฐานที่ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ออกมาพร้อมกับมาตรฐาน IEEE 802.11a เมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยมในการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากที่สุดผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า CCK (Complimentary Code Keying) ร่วมกับเทคโนโลยี DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราความเร็วสูงสุดที่ 11 เมกะบิตต่อวินาทีโดยใช้คลื่นสัญญาณวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่อนุญาตให้ใช้งานในแบบสาธารณะทางด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และการแพทย์ โดยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความถี่ย่านนี้มีชนิด ทั้งผลิตภัณฑ์ที่รองรับเทคโนโลยี Bluetooth, โทรศัพท์ไร้สายและเตาไมโครเวฟ จึงทำให้การใช้งานนั้นมีปัญหาในเรื่องของสัญญาณรบกวนของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ข้อดีของมาตรฐาน IEEE 802.11b ก็คือ สนับสนุนการใช้งานเป็นบริเวณกว้างกว่ามาตรฐาน IEEE 802.11a ผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11b เป็นที่รู้จักในเครื่องหมายการค้า Wi-Fi ซึ่งกำหนดขึ้นโดย WECA (Wireless Ethernet Compatability Alliance) โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมาย Wi-Fi ได้ผ่านการตรวจสอบและรับรองว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน IEEE802.11b ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกันกับผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตรายอื่นๆ ได้

3.wi - max   มาตรฐานเครือข่าย IEEE 802.16
ซึ่งมาก็ได้พัฒนามาตรฐาน  IEEE 802.16a ขึ้น โดยได้การอนุมัติออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) ซึ่ง
มีรัศมีทำการที่ 30 ไมล์ หรือเป็นระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ซึ่งนั่นหมายความว่า WiMAX สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G มากถึง 10 เท่า ยิ่งกว่านั้นก็
ยังมีอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเร็วกว่า 3G ถึง 30 เท่าทีเดียว

โดยมาตรฐาน IEEE 802.16a หรือ WiMAX มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-multipoint) ได้พร้อมๆ กัน  โดยมีความสามารถรองรับการทำงานในแบบ
Non-Line-of-Sight ได้ สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้ หรือ อาคารได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ WiMAX สามารถช่วยให้ผู้ที่ใช้งาน สามารถขยายเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้กว้างขวางด้วยรัศมีทำการถึง 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 Mbps มาตรฐาน IEEE 802.16a นี้ใช้งานอยู่บนคลื่นไมโครเวฟที่ความถี่ระหว่าง 2-11 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)  และยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐานชนิดอื่นๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี

เทคโนโลยีความเร็วสูง

ADSL หรือ Asymmetric Digital Subscriber Line            เป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงในบ้านเรา ซึ่งสำหรับ คออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งหลายจะต้องรู้จักกันดี สำหรับเทคโนโลยี ADSL นี้ทางผู้เขียนจะกล่าวในหัวข้อ ต่อไปนี้
            ADSL หรือ (Asymmetric Digital Subscriber Line) เป็นหนึ่งในสมาชิกของเทคโนโลยี XDSL และกำลังเป็นการ ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รูปแบบใหม่ ที่มีความสามารถในการดาวน์โหลดข้อมูล (Downstream) ที่ความเร็วสูงสุดที่ 8Mbps และการอัพโหลดข้อมูล (Upstream) ที่อัตราความเร็ว สูงสุด 1Mbps โดยจะเน้นใช้โพรโตคอลแบบ TCP/IP เป็นหลัก และใช้พื้นฐานของ ATM จึงทำให้ ADSL สามารถรองรับกับแอพพลิเคชันลักษณะทางด้านมัลติมีเดียได้เป็นอย่างดี โดยจะมีการ Modulation หรือการเข้ารหัสสัญญาณเป็น 3 ช่วง ซึ่งได้แก่ ความถี่ในการรับข้อมูล ความถี่ในการส่งข้อมูล และความ ถี่ของสัญญาณโทรศัพท์ สำหรับทางด้านโทรศัพท์จะแบ่งรหัสสัญญาณข้อมูลเสียงโดยการแยกความถี่ของเสียงที่มีความถี่ไม่เกิน 4KHz ออกจากความถี่ของสัญญาณข้อมูลที่มีความถี่ตั้งแต่ 2MHz ฉะนั้นผู้ใช้จึงสามารถใช้งานโทรศัพท์ร่วมไปด้วย โดยไม่เกิด ปัญหาใดๆ ซึ่ง จะสามารถเป็นการประหยัดสำหรับผู้ที่อยากจะติดตั้งด้วย เพราะสามารถ ติดตั้งร่วมกับสายโทรศัพท์พื้นฐานที่บ้าน ได้เลย
การแยกสัญญาณโทรศัพท์ และ สัญญาณข้อมูลออกจากกัน
SDSL หรือ Symmetric Digital Subscriber Line             เป็นเทคโนโลยีที่สนับสนุน การรับส่งข้อมูลในแบบ Full-Duplex เหมือนกับ HDSL ที่สามารถทำความเร็วในการ รับส่ง ข้อมูลที่ 1.5Mbps ในระยะทาง 3 กิโลเมตร โดยการทำงานนั้นจะสนับสนุนสายแบบ T1/E1 ได้ด้ว
 HDSL หรือ High bit rate Digital Subscriber Line
           เป็นเทคโนโลยีที่มีความนิยมมากในกลุ่มของผู้ใช้ในองค์กร หรือบริษัท โดยที่จะมี จุดเด่นก็ตรงที่จะทำงานการรับส่งข้อมูล ในแบบ Full-Duplex ที่จะทำให้ความเร็ว หรือจำนวนของแบนด์--วิดท์ในการรับส่งที่เท่ากัน HDSL ยังสามารถ ใช้ร่วมกับสาย โทรศัพท์แบบ Twisted-pair เท่ากับสาย T1 ที่สามารถทำความเร็วในการรับส่งได้มากถึง 1.5Mbps ซึ่งในยุโรปสามารถทำ ความเร็วได้ถึงกว่า 2Mbps ในระยะทางกว่า 3.6 กิโลเมตร
VDSL หรือ Very high bit rate Digital Subscriber Line                
            เทคโนโลยีนี้สามารถทำความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้สูงที่สุดในสมาชิกของ XDSL ทั้งหมด โดยการดาวน์โหลดข้อมูลจะ ได้ความเร็วสูงสุดที่ 52Mbps และการอัพโหลดข้อมูลที่ 2.3Mbps แต่จุดด้อยที่ทำให้ VDSL ไม่เป็นที่นิยมมากนักถึงแม้จะมี ความเร็วที่มากกว่าชนิดอื่นๆ ก็เพราะว่าระยะทาง ในการรับส่งข้อมูลความเร็วขนาดนั้นจะมีระยะทางได้แค่เพียง 1 กิโลเมตรเท่านั้น และราคาค่าติดตั้ง และใช้บริการก็สูงมาก

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามระยะทางที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์การสื่อสาร
   เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งแยกออกตามสภาพการเชื่อมโยงได้เป็น 4ชนิดคือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN)
2. เครือข่ายระดับเมือง หรือเครือข่ายแมน (Metropolitan Area Network : MAN)
3. เครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN)
4. เครือข่ายแบบบุคคล   (PAN)
           เครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
                   เครือข่ายแลน หรือเครือข่ายท้องถิ่น เป็นเครือข่ายขนาดเล็ก ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้าง ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เครือข่ายแลนจัดได้ว่าเป็น เครือข่ายเฉพาะขององค์การ การสร้างเครือข่ายแลนนี้องค์การสามารถดำเนินการทำเองได้ โดยวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคาร หรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็ก ที่เชือมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้อง หรือองค์การขนาดใหญ่ เช่น มหาวิทยาลัย

                                           
เครือข่ายระดับเมือง (MAN)
เป็นเครือข่ายที่ใช้ภายในเมือง หรือภายในจังหวัด เป็นระบบที่มีขนาดกลางอยู่ระหว่าง เครือข่ายแลน กับ เครือข่าย แวน

เครือข่ายระดับประเทศ (WAN)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ มีการติดต่อต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกลจึงต้องอาศัยระบบบริการข่ายสายสาธารณะ เช่น การสื่อสารแห่ง ประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม ใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้ บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร มีสาขาทั่วประเทศ มีบริการรับฝากและถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม

 เครือข่ายแบบบุคคล   (PAN)

  • เป็นเครือข่ายไร้สาย เชื่อมโยง อุปกรณ์การสื่อสารหลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน   ระยะทางการเชื่อมต่อ ไม่เกิน 1 เมตร   ความเร็ว ประมาณ 10  Mbp    ใช้สื่อ IrDA Port, Bluetooth, Wireless